วิธีเปิดบัญชี Binance Futures
news-253.png
ADMIN May 02, 2021 3799

 

คุณจะต้องมีบัญชี Binance แบบธรรมดาก่อนที่จะเปิดบัญชี Binance Futures หากคุณยังไม่มีบัญชีดังกล่าว คุณสามารถไปที่ Binance และคลิกที่ "สมัคร" ที่มุมบนขวาของหน้าจอ จากนั้นทำตามขั้นตอนต่อไปนี้:

  1. ใส่ที่อยู่อีเมลและสร้างรหัสผ่านที่ปลอดภัย หากคุณมี ID การแนะนำ ให้วางที่กล่อง ID การแนะนำ คุณสามารถใช้ลิงก์นี้เพื่อรับส่วนลด 10% สำหรับค่าธรรมเนียมการซื้อขาย Spot/มาร์จิ้นได้
     

    วิธีเปิดบัญชี Binance Futures


     
  2. เมื่อคุณพร้อมแล้ว คลิกที่ "สร้างบัญชี"
  3. คุณจะได้รับอีเมลเพื่อยืนยันในไม่ช้า ทำตามขั้นตอนในอีเมลนั้นเพื่อทำการสมัครให้เสร็จสิ้น

จากนั้น เข้าสู่ระบบไปยังบัญชี Binance ของคุณ เลื่อนเมาส์ไปที่แถบด้านบนของหน้าเว็บ และคลิกที่ Futures

 

แถบเมนู Binance

 

เมื่อคุณอยู่ที่หน้า Binance Futures แล้ว คุณควรเห็นอักขระสองตัวแรกของที่อยู่อีเมลที่เกี่ยวข้องกับบัญชีของคุณทางมุมบนขวา

 

วิธีเปิดบัญชี Binance Futures

 

คลิกที่ปุ่ม "เปิดตอนนี้" เพื่อเปิดใช้งานบัญชี Binance Futures ของคุณ เท่านี้ก็เรียบร้อย คุณพร้อมที่จะซื้อขายแล้ว!

 

วิธีเปิดบัญชี Binance Futures

 

หากคุณไม่คุ้นเคยกับการซื้อขายด้วยสัญญาฟิวเจอร์ เราขอแนะนำให้ลองอ่านบทความสัญญาฟอร์เวิร์ดและฟิวเจอร์คืออะไร? รวมทั้งสัญญาฟิวเจอร์แบบ Perpetual คืออะไร? ก่อนเริ่มต้นซื้อขาย

คุณยังสามารถอ่านคำถามที่พบบ่อยของ Binance Futures เพื่อดูภาพรวมข้อมูลเฉพาะต่างๆ ของสัญญาได้อีกด้วย 

หากคุณต้องการทดลองใช้แพลตฟอร์มโดยไม่เสี่ยงใช้ทุนจริง คุณสามารถลองได้ที่ Binance Futures testnet 

 

วิธีเพิ่มทุนไปยังบัญชี Binance Futures ของคุณ

คุณสามารถโอนทุนไปมาระหว่างกระเป๋า Exchange (กระเป๋าที่ใช้ใน Binance) และกระเป๋าฟิวเจอร์ได้ (กระเป๋าที่ใช้ใน Binance Futures)

หากคุณไม่มีทุนฝากไปยัง Binance เลย เราขอแนะนำให้อ่านวิธีฝากทุนไปยัง Binance

หากต้องการโอนทุนไปยังกระเป๋าฟิวเจอร์ ให้คลิก "โอน" ที่มุมล่างขวาของหน้า Binance Futures กำหนดจำนวนที่คุณต้องการโอน และคลิก "ยืนยันการโอน" คุณควรเห็นยอดคงเหลือเพิ่มไปยังกระเป๋าฟิวเจอร์ของคุณในไม่ช้า

 

วิธีเปิดบัญชี Binance Futures

 

นี่ไม่ใช่วิธีเดียวในการเพิ่มทุนไปยังกระเป๋าฟิวเจอร์ของคุณ คุณยังสามารถใช้ทุนในกระเป๋า Exchange เป็นสินทรัพย์ค้ำประกันเพื่อยืม USDT สำหรับการซื้อขายฟิวเจอร์จากหน้ายอดคงเหลือกระเป๋าฟิวเจอร์ของคุณได้อีกด้วย การดำเนินการนี้ทำให้คุณไม่ต้องโอนทุนไปยังกระเป๋าฟิวเจอร์ของคุณโดยตรง แน่นอนว่าคุณต้องชำระ USDT ที่คุณได้กู้ยืมมาคืน

 

คำแนะนำเกี่ยวกับอินเทอร์เฟสของ Binance Futures

 

ภาพถ่ายหน้าจอของอินเทอร์เฟส Binance Futures

 

1. ทางด้านซ้ายของบริเวณนี้ คุณสามารถวางเมาส์เพื่อดูข้อมูล และเข้าถึงข้อมูลตลาดโดยละเอียด ภาพประกอบ และคำถามที่พบบ่อยของ Futures คุณสามารถตรวจสอบประวัติอัตราต่อทุน ดอกเบี้ยที่เปิดอยู่ อัตรา Long/Short และยอดคงเหลือปัจจุบันของทุนประกัน และข้อมูลตลาดอื่นๆ ได้ คลิกที่ Spot เพื่อไปยังตลาดแลกเปลี่ยน Spot ของ Binance

 

2. ทางด้านขวาของบริเวณนี้ คุณสามารถเข้าถึงบัญชี Binance ของคุณได้ ซึ่งรวมถึงแดชบอร์ดของคุณ คุณสามารถดูยอดคงเหลือในกระเป๋าและคำสั่งในระบบนิเวศของ Binance ทั้งหมดได้ง่ายๆ โดยการคลิกที่ "กระเป๋าและคำสั่ง" คุณยังสามารถตรวจสอบการแข่งขันการซื้อขาย Binance Futures ที่มีอยู่ได้โดยการคลิกที่ "ทัวร์นาเมนต์"

 

จากเมนูนี้คุณสามารถ:

  • เลือกสัญญาโดยวางเมาส์เหนือชื่อสัญญาปัจจุบัน (BTCUSDT เป็นค่าเริ่มต้น)
  • เช็คราคา Mark (การจับตาราคานี้มีความสำคัญ เนื่องจากการปิดสัญญาขึ้นอยู่กับราคา Mark)
  • เช็คอัตราต่อทุนที่คาดและเวลานับถอยหลังไปยังรอบทุนต่อไป
  • ดูแผนภูมิปัจจุบันของคุณ คุณสามารถสลับระหว่างแผนภูมิดั้งเดิมหรือแผนภูมิ TradingView แบบผสานได้ คุณจะเห็นการแสดง Depth ของคำสั่งซื้อขายได้แบบเรียลไทม์โดยการคลิกที่ Depth
  • ดูข้อมูลคำสั่งซื้อขายสดๆ พร้อมทั้งการแสดงภาพ Depth ของคำสั่ง คุณสามารถปรับความแม่นยำของคำสั่งซื้อขายได้ในเมนูดรอปดาวน์ทางมุมบนขวาของบริเวณนี้ (ค่าเริ่มต้นคือ 0.01)
  • ดูฟีดสดของการซื้อขายบนแพลตฟอร์มที่ดำเนินการแล้ว

เมื่อใดก็ตามที่คุณเห็นลูกศรทางมุมล่างขวาหน้าของโมดูล กรณีนี้หมายความว่าคุณสามารถเลื่อนและปรับขนาดองค์ประกอบนั้นได้ สิ่งนี้ทำให้คุณสามารถสร้างการจัดรูปแบบอินเทอร์เฟสที่คุณต้องการได้ง่ายๆ

 

 

3. บริเวณนี้ช่วยให้คุณสามารถติดตามกิจกรรมการซื้อขายของตัวเองได้ คุณสามารถสลับเปลี่ยนระหว่างแท็บต่างๆ เพื่อเช็คสถานะปัจจุบันของสัญญาของคุณและคำสั่งที่เปิดอยู รวมถึงคำสั่งที่ดำเนินการไปแล้ว คุณยังสามารถดูประวัติการซื้อขายและธุรกรรมต่างๆ ทั้งหมดสำหรับช่วงเวลาหนึ่งๆ ได้อีกด้วย 

คุณยังสามารถติดตามสัญญาของคุณในคิวการ Deleverage อัตโนมัติ ได้ใต้ ADL (ควรให้ความสนใจระหว่างช่วงเวลาที่มี Volatility หรือความผันผวนสูง)

 

4. บริเวณนี้ช่วยให้คุณสามารถตรวจสอบสินทรัยพ์ที่มี ทุน และซื้อคริปโตเพิ่มได้ คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เกี่ยวกับสัญญาปัจจุบันและสัญญาของคุณ อย่าลืมให้ความสำคัญกับอัตรามาร์จิ้นด้วยเพื่อหลีกเลี่ยงการบังคับปิดสัญญา 

เมื่อคลิก "โอน" คุณจะสามารถโอนทุนระหว่างกระเป๋า Futures ของคุณกับระบบนิเวศของ Binance ที่เหลือได้

 

5. นี่คือบริเวณใส่คำสั่งของคุณ ดูคำอธิบายโดยละเอียดของเราเกี่ยวกับประเภทคำสั่งที่มีให้บริการได้ด้านล่างของบทความนี้ คุณยังสามารถสลับเปลี่ยนระหว่างมาร์จิ้นแบบ Cross และมาร์จิ้นแบบ Isolated ได้ ปรับเลเวอร์เลจของคุณโดยการคลิกที่จำนวนเลเวอร์เลจปัจจุบัน (ค่าเริ่มต้นคือ 2x)

 

วิธีปรับเปลี่ยนเลเวอร์เลจของคุณ

Binance Futures ช่วยให้คุณสามารถปรับเลเวอร์เลจสำหรับสัญญาแต่ละรายการได้ด้วยตัวเอง หากต้องการเลือกสัญญา ให้ไปที่ด้านบนซ้ายของหน้าเว็บ และวางเมาส์เหนือสัญญาปัจจุบัน (BTCUSDT เป็นค่าเริ่มต้น)

หากต้องการปรับเลเวอร์เลจ ให้ไปที่ช่องใส่คำสั่ง และคลิกที่จำนวนเลเวอร์เลจปัจจุบันของคุณ (ค่าเริ่มต้นคือ 20x) ระบุจำนวนเลเวอร์เลจโดยการปรับแถบเลื่อน หรือพิมพ์จำนวนที่ต้องการ และคลิก "ยืนยัน"

 

วิธีปรับเปลี่ยนเลเวอร์เลจของคุณ

 

ทั้งนี้ ยิ่งขนาดสัญญาใหญ่เท่าไหร่ จำนวนเลเวอร์เลจที่คุณสามารถใช้ได้ก็จะเล็กลงตามนั้น เช่นเดียวกันนี้ ยิ่งขนาดสัญญาน้อยเท่าไหร่ เลเวอร์เลจที่คุณสามารถใช้ได้ก็จะเพิ่มขึ้น

โปรดทราบว่าการใช้เลเวอร์เลจสูงกว่าจะมีความเสี่ยงการบังคับปิดสัญญาสูงขึ้นตามไปด้วย นักเทรดมือใหม่ควรใช้ความระมัดระวังเมื่อพิจารณาจำนวนเลเวอร์เลจที่ใช้

 

ข้อแตกต่างระหว่างราคา Mark และราคาสุดท้าย

Binance Futures ใช้ราคาสุดท้ายและราคา Mark เพื่อหลีกเลี่ยงการเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก (Spike) และการบังคับปิดสัญญาที่ไม่จำเป็นระหว่างช่วงที่มีความผันผวนสูง

ราคาสุดท้ายเข้าใจได้ง่าย โดยหมายถึงราคาสุดท้าย (Last Price) ที่มีการซื้อขายสัญญา หรือกล่าวได้ว่า การซื้อขายครั้งสุดท้ายในประวัติการซื้อขายถือว่าเป็น "ราคาสุดท้าย" ใช้ราคานี้เพื่อคำนวณค่า PnL (กำไรและขาดทุน) ที่ได้ของคุณ

ราคา Mark ถูกออกแบบมาเพื่อป้องกันการปั่นราคา คำนวณโดยใช้การผสานรวมของข้อมูลทุนและตะกร้าข้อมูลราคาจากตลาดแลกเปลี่ยน Spot หลายรายการ ราคาบังคับปิดสัญญาของคุณและ PnL ที่ไม่ได้มาจะถูกคำนวณจากราคา Mark

 

ข้อแตกต่างระหว่างราคา Mark และราคาสุดท้าย

 

โปรดทราบว่าราคา Mark และราคาสุดท้ายอาจแตกต่างกัน

เมื่อคุณตั้งประเภทคำสั่งที่ใช้ราคา Stop เป็นทริกเกอร์ คุณสามารถเลือกได้ว่าราคาได้ที่คุณต้องการใช้เป็นทริกเกอร์ ราคาสุดท้ายหรือราคา Mark หากต้องการดำเนินการนี้ ให้เลือกราคาที่คุณต้องการใช้ในเมนูดรอปดาวน์ "ทริกเกอร์" ที่ด้านล่างของช่องใส่คำสั่ง

 

คำสั่งที่มีให้บริการและเวลาที่ควรใช้

มีคำสั่ง 6 ประเภทที่คุณสามารถใช้ได้บน Binance Futures:

 

คำสั่ง Limit

คำสั่ง Limit คือคำสั่งที่คุณสามารถสั่งได้คำสั่งซื้อขายด้วยจำนวนราคา Limit ที่เฉพาะเจาะจง เมื่อคุณวางตำสั่ง Limit การซื้อขายจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อราคาตลาดถึงราคา Limit ของคุณ (หรือดีกว่า) เท่านั้น ดังนั้น คุณอาจใช้คำสั่ง Limit เพื่อซื้อในราคาที่ต่ำกว่า หรือขายในราคาที่สูงกว่าราคาตลาดปัจจุบันได้

 

มาร์เกตออเดอร์

มาร์เกตออเดอร์คือคำสั่งเพื่อซื้อหรือขายในราคาปัจจุบันที่ดีที่สุด เป็นคำสั่งตรงข้ามกับคำสั่ง Limit ในคำสั่งซื้อขายก่อนหน้านี้ เมื่อส่งคำสั่งมาร์เกตออเดอร์ คุณจะต้องจ่ายค่าธรรมเนียมในฐานะเทคเกอร์ตลาด

 

คำสั่ง Stop Limit

วิธีที่ง่ายที่สุดในการเข้าใจคำสั่ง Stop Limit คือการแบ่งเป็นราคา Stop และราคา Limit โดยราคา Stop เป็นราคาที่ทริกเกอร์คำสั่ง Limit และราคา Limit คือราคาของคำสั่ง Limit ที่ถูกทริกเกอร์ ซึ่งหมายความว่าเมื่อถึงราคา Stop ของคุณ คำสั่ง Limit จะถูกส่งไปยังคำสั่งซื้อขายในทันที

แม้ว่าราคา Stop และราคา Limit อาจมีค่าเดียวกันได้ กรณีดังกล่าวไม่ใช่ข้อกำหนดที่จำเป็น ความจริงแล้วอาจปลอดภัยกว่าถ้าคุณตั้งราคา Stop (ราคาที่ทริกเกอร์) ให้สูงกว่าราคา Limit เล็กน้อยสำหรับคำสั่งขาย หรือต่ำกว่าราคา Limit เล็กน้อยสำหรับคำสั่งซื้อ สิ่งนี้จะเพิ่มโอกาสให้คำสั่ง Limit ของคุณถูกส่งหลังถึงราคา Stop

 

มาร์เกตออเดอร์แบบ Stop

คล้ายกับคำสั่ง Stop Limit มาร์เกตออเดอร์แบบ Stop ใช้ราคา Stop เป็นทริกเกอร์ อย่างไรก็ตาม เมื่อถึงราคา Stop แล้ว จะมีการทริกเกอร์มาร์เกตออเดอร์แทน

 

คำสั่ง Take Profit Limit

หากคุณเข้าใจคำสั่ง Stop Limit แล้ว คุณก็สามารถเข้าใจคำสั่ง Take Profit Limit ได้ง่ายๆ คำสั่งนี้มีลักษณะเช่นเดียวกับคำสั่ง Stop Limit ตรงที่มีราคาทริกเกอร์ ราคาที่ทริกเกอร์คำสั่ง และราคา Limit จากนั้นราคาของคำสั่ง Limit จะถูกเพิ่มไปยังคำสั่งซื้อขาย ข้อแตกต่างที่สำคัญระหว่างคำสั่ง Stop Limit และคำสั่ง Take Profit Limit คือคำสั่ง Take Profit Limit นี้สามารถใช้ได้เฉพาะเพื่อลดสัญญาที่เปิดอยู่เท่านั้น

คำสั่ง Take Profit Limit อาจเป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์ในการบริหารจัดการความเสี่ยงและล็อคกำไรที่ระดับราคาหนึ่งๆ สามารถใช้ร่วมกับคำสั่งประเภทอื่นๆ ได้ เช่น คำสั่ง Stop Limit เพื่อให้คุณสามารถควบคุม Position ของตัวเองได้มากขึ้น

โปรดทราบว่าคำสั่งเหล่านี้ไม่ใช่คำสั่ง OCO ตัวอย่างเช่น หากถึงคำสั่ง Stop Limit ของคุณขณะที่คุณยังมีคำสั่ง Take Profit Limit ที่ใช้งานอยู่ ในกรณีนี้ คำสั่ง Take Profit Limit จะยังมีมีผลจนกระทั่งคุณยกเลิกด้วยตนเอง

คุณสามารถตั้งคำสั่ง Take Profit Limit ได้ใต้ตัวเลือกคำสั่ง Stop Limit ในช่องใส่คำสั่ง

 

คำสั่ง Take-Profit-Market

คล้ายกับคำสั่ง Take Profit Limit คำสั่ง Take Profit Market ใช้ราคา Stop เป็นทริกเกอร์ อย่างไรก็ตาม เมื่อถึงราคา Stop แล้ว จะมีการทริกเกอร์มาร์เกตออเดอร์แทน

คุณสามารถตั้งคำสั่ง Take Profit Market ได้ใต้ตัวเลือกคำสั่ง Stop Market ในช่องใส่คำสั่ง

 

วิธีใช้โปรแกรมคำนวณของ Binance Futures

ดูวิดีโอสาธิตได้ที่นี่

 

คุณสามารถใช้โปรแกรมคำนวณได้ที่มุมบนของช่องใส่คำสั่ง เครื่องมือนี้จะช่วยให้คุณคำนวณมูลค่าก่อนที่จะเข้าไปสู่สัญญาแบบ Long หรือ Short คุณสามารถปรับแถบเลื่อนเลเวอร์เลจในแต่ละแท็บเพื่อใช้เป็นพื้นฐานของการคำนวณของคุณ

โปรแกรมคำนวณมี 3 แท็บ:

  • PNL – ใช้แท็บนี้เพื่อใช้คำนวณมาร์จิ้นตั้งต้น กำไรและขาดทุน และอัตราผลตอบแทน (ROE) บนพื้นฐานของราคาตั้งต้นและราคาออกที่ต้องการ รวมทั้งขนาด Position
  • ราคาเป้าหมาย – ใช้แท็บนี้เพื่อคำนวณราคาที่คุณจะต้องได้เพื่อออกจากสัญญาเพื่อให้ได้ผลตอบแทนตามเปอร์เซ็นต์ที่ต้องการ
  • ราคาที่จะถูกบังคับปิดสัญญา – ใช้แท็บนี้เพื่อคำนวณราคาที่จะถูกบังคับปิดสัญญาของคุณโดยประมาณ ที่อยู่บนพื้นฐานของยอดคงเหลือในกระเป๋าของคุณ ราคาตั้งต้นที่ต้องการ และขนาดสัญญา

 

วิธีใช้โหมด Hedge

ในโหมด Hedge คุณสามารถถือสัญญาทั้ง Long และ Short ได้ในเวลาเดียวกันสำหรับสัญญาเดียว แล้วทำไมคุณถึงจะอยากทำเช่นนั้น? คำตอบคือในกรณีเช่นคุณอยู่ในช่วงขาขึ้นสำหรับราคา Bitcoin ในระยะยาว คุณจึงมีสัญญา Long เปิดอยู่ ในเวลาเดียวกัน คุณอาจอยากถือสัญญา Short ในไทม์เฟรมที่ตำ่กว่า โหมด Hedge ช่วยให้คุณดำเนินการนี้ได้ – ในกรณีนี้สัญญา Short ที่รวดเร็วจะไม่ส่งผลกระทบต่อสัญญา Long ของคุณ

โหมดเริ่มต้นสำหรับสัญญาคือโหมด One-Way ซึ่งหมายความว่าคุณไม่สามารถเปิดสัญญาทั้ง Long และ Short ได้ในเวลาเดียวกันสำหรับสัญญาเดียว หากคุณลองทำ สัญญาจะยกเลิกกันเอง ดังนั้น หากคุณต้องการใช้โหมด Hedge คุณจะต้องเปิดใช้งานด้วยตัวเอง โดยวิธีการมีดังต่อไปนี้

  1. วางเมาส์เหนือไอคอนบัญชีของคุณที่ด้านขวาบน แล้วเลือก "ตั้งค่า"
  2. เลือกโหมด Hedge

ตัวเลือกโหมด Hedge

 

โปรดทราบว่าหากคุณมีคำสั่งหรือสัญญาที่เปิดอยู่ คุณจะไม่สามารถเปลี่ยนโหมดสัญญาได้

 

อัตราต่อทุนคืออะไร และจะตรวจสอบได้อย่างไร

อัตราต่อทุนช่วยให้แน่ใจว่าราคาสัญญาฟิวเจอร์ระยะยาวมีค่าใกล้เคียงกับราคาสินทรัพย์อ้างอิง (Spot) มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ กล่าวคือนักเทรดจ่ายเงินให้กันและกันโดยขึ้นกับสัญญาที่เปิดอยู่ สิ่งที่กำหนดว่าฝ่ายไหนจะได้รับการชำระเงินคือความต่างระหว่างราคาฟิวเจอร์ระยะยาวและราคา Spot

เมื่ออัตราต่อทุนเป็นบวก Long จ่ายให้ Short เมื่ออัตราต่อทุนเป็นลบ Short จ่ายให้ Long

หากคุณต้องการอ่านเพิ่มเติมว่ากระบวนการนี้ทำงานอย่างไร ดูที่สัญญาฟิวเจอร์ระยะยาวคืออะไร

แล้วสิ่งนี้มีผลอย่างไรกับคุณ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับสัญญาที่เปิดอยู่ของคุณและอัตราต่อทุน คุณจะจ่ายหรือได้รับการชำระเงินทุน บน Binance Futures การชำระทุนเหล่านี้จะจ่ายทุกๆ 8 ชั่วโมง คุณสามารถดูเวลาและอัตราต่อทุนโดยประมาณได้ในระยะทุนครั้งต่อไปที่ด้านบนของหน้าเว็บ ข้างๆ กับราคา Mark

หากคุณต้องการดูอัตราต่อทุนสำหรับสัญญาแต่ละรายการก่อนหน้านี้ วางเมาส์เหนือ "ข้อมูล" และเลือก "ประวัติอัตราต่อทุน"

 

โพสเท่านั้น, Time In Force และลดเท่านั้นคืออะไร

เมื่อคุณใช้คำสั่ง Limit คุณสามารถตั้งค่าคำสั่งเพิ่มเติมได้พร้อมกับคำสั่งของคุณ บน Binance Futures คำสั่งเพิ่มเติมนี้อาจอยู่ในรูปโพสเท่านั้นหรือ Time in Force (TIF) และคำสั่งเหล่านี้จะระบุลักษณะเพิ่มเติมของคำสั่ง Limit ของคุณ คุณสามารถเข้าถึงได้ที่ด้านลางของช่องใส่คำสั่ง

โพสเท่านั้นหมายความว่าคำสั่งของคุณจะถูกเพิ่มไปยังคำสั่งซื้อขายก่อน และจะไม่มีทางนำไปใช้กับคำสั่งที่มีอยู่แล้วในคำสั่งซื้อขาย กรณีนี้มีประโยชน์เมื่อคุณต้องการจ่ายค่าธรรมเนียมเมคเกอร์เท่านั้น

คำสั่ง TIF ช่วยให้คุณสามารถระบุระยะเวลาที่คำสั่งของคุณจะมีผลอยู่ก่อนที่จะทำสัญญาหรือหมดอายุ คุณสามารถเลือกหนึ่งในตัวเลือกต่อไปนี้ได้สำหรับคำสั่ง TIF:

  • GTC (Good Till Cancel): คำสั่งจะมีผลอยู่จนกระทั่งถูกส่งหรือยกเลิก
  • IOC (Immediate Or Cancel): คำสั่งจะดำเนินการในทันที (ทั้งหมดหรือบางส่วน) หากทำเป็นบางส่วน ส่วนของคำสั่งที่ไม่ได้ส่งจะถูกยกเลิก
  • FOK (Fill Or Kill): คำสั่งต้องได้รับการดำเนินการอย่างสมบูรณ์ในทันที หากไม่เป็นเช่นนั้นจะไม่มีการดำเนินการเลย

หากคุณอยู่ในโหมด One-Way การกา "ลดเท่านั้น" จะทำให้มั่นใจว่าคำสั่งใหม่ๆ จะลดลงเท่านั้น และไม่มีทางเพิ่มสัญญาที่เปิดอยู่ของคุณได้

 

สัญญาของคุณจะเสี่ยงต่อการบังคับปิดสัญญาเมื่อใด

การบังคับปิดสัญญาเกิดขึ้นเมื่อยอดคงเหลือมาร์จิ้นของคุณลดลงต่ำกว่ามาร์จิ้นคงบัญชี ยอดคงเหลือมาร์จิ้นคือยอดคงเหลือของบัญชี Binance Futures ของคุณ ซึ่งรวมถึง PnL (กำไรและขาดทุน) ที่คุณยังไม่ได้รับ ดังนั้น ผลกำไรและขาดทุนของคุณจะทำให้มูลค่ายอดคงเหลือมาร์จิ้นเปลี่ยนแปลง หากคูณใช้โหมดครอสมาร์จิ้น ยอดคงเหลือนี้จะแชร์กันระหว่างสัญญาต่างๆ ของคุณ หากคุณใช้โหมด Isolated ยอดคงเหลือนี้สามารถแจกจ่ายไปให้แต่ละสัญญาได้

มาร์จิ้นขั้นต่ำที่ต้องรักษาไว้ (Maintenance Margin) คือ มูลค่าขั้นต่ำที่คุณต้องรักษาไว้เพื่อให้สัญญาเปิดอยู่ ซึ่งจะต่างออกไปต่ามขนาดสัญญาของคุณ ยิ่งสัญญาขนาดใหญ่ มาร์จิ้นขึ้นต่ำที่ต้องรักษาไว้ก็ยิ่งสูงขึ้น

 คุณสามารถตรวจสอบอัตรามาร์จิ้นปัจจุบันของคุณได้ที่มุมล่างขวา หากอัตรามาร์จิ้นของคุณถึง 100% สัญญาของคุณจะถูกบังคับปิดสัญญา

เมื่อเกิดกรณีการบังคับปิดสัญญา คำสั่งของคุณทั้งหมดที่เปิดอยู่จะถูกยกเลิก จะให้ดี คุณควรติดตามสัญญาของคุณเพื่อหลีกเลี่ยงการบังคับปิดสัญญาโดยอัตโนมัติ ซึ่งจะมีค่าธรรมเนียมเพิ่มเติม หากสัญญาของคุณใกล้จะถูกบังคับปิดสัญญา การพิจารณาปิดสัญญาด้วยตัวเองอาจมีประโยชน์แทนที่จะปล่อยให้ถูกบังคับปิดสัญญาโดยอัตโนมัติ

 

การ Deleverage อัตโนมัติคืออะไร และจะส่งผลต่อคุณอย่างไร

เมื่อขนาดบัญชีของนักเทรดลดลงต่ำกว่า 0 จะมีการใช้ทุนประกันเพื่อทดแทนการขาดทุนนี้ อย่างไรก็ตาม ในสภาพตลาดที่ผันผนวมากเป็นพิเศษ ทุนประกันอาจไม่สามารถจัดการกับการขาดทุนได้ และมีการลดสัญญาที่เปิดอยู่เพื่อทดแทนการขาดทุนนั้น กรณีนี้หมายความว่าในเวลาเช่นนี้ สัญญาที่เปิดอยู่ของคุณอาจเสี่ยงต่อการถูกลดด้วย

ลำดับการลดสัญญาเหล่านี้จะกำหนดโดยคิว ซึ่งนักเทรดที่ทำกำไรสูงสุดและมีเลเวอร์เลจสูงสุดจุอยู่ด้านหน้าคิว คุณสามารถตรวจสอบตำแหน่งในคิวปัจจุบันของคุณได้โดยการวางเมาส์เหนือ ADL ในแท็บสัญญา

 

ข้อแนะนำการใช้เครื่องมือ Deleverage อัตโนมัติ

 

ข้อคิดปิดท้าย

สัญญาฟิวเจอร์เป็นอนุพันธ์ซึ่งมอบพันธะให้นักเทรดซื้อหรือขายสินทรัพย์ในอนาคต สัญญาฟิวเจอร์ระยะยาวหรือ Perpetual Future มีข้อแตกต่างจากสัญญาฟิวเจอร์แบบดั้งเดิมคือการที่ไม่มีวันครบกำหนดชำระเงินค่าซื้อขาย (Settlement Date)

อย่างไรก็ตาม อนุพันธ์อาจเป็นประเด็นที่ทำให้นักเทรดที่ด้อยประสบการณ์สับสนได้ ดังนั้น การเข้าใจว่าสัญญาเหล่านี้ทำงานอย่างไรจึงมีความสำคัญมากก่อนที่จะเลือกรับความเสี่ยงทางการเงิน ดังที่กล่าวไปแล้ว คุณสามารถเข้าถึง Binance Futures testnet เพื่อทดสอบแพลตฟอร์มก่อนโดยไม่ต้องเสี่ยงใช้ทุนจริง

แหล่งที่มา/ต้นฉบับ :

แสดงความคิดเห็น

กดแชร์ตรงนี้