
Funding rate คืออะไร ? จำเป็นแค่ไหนที่เราจะต้องเข้าใจ
หลายคนคงมองว่าการเทรด bitcoin ในตลาด Futures ด้วยการใช้ Leverage นั้นอาจทำให้เราได้กำไรมหาศาล หากเราเลือกทางและ Position ถูกแค่เพียงครั้งเดียว แต่ความจริงนั้นมันไม่ง่ายเสมอไป บทความนี้จะมาให้ข้อมูลเกี่ยวกับ Funding rate ในการเทรด bitcoin ด้วยตลาด Futures เรื่องนี้จะเป็นประโยชน์อย่างมากกับการพิจารณาการเข้าออก Position ของนักเทรดทุกคน
ความแตกต่างระหว่าง Perpetual Futures และตลาดสัญญาอนุพันธ์ธรรมดา
ก่อนอื่นเราต้องทำความเข้าใจก่อนว่าการซื้อสัญญาอนุพันธ์(Futures) แบบปกตินั้น จะมีวันหมดอายุ (Expiration date) ซึ่งจะทำให้เกิดการะชำระขึ้นทุกครั้งที่สัญญาหมดอายุ และจะทำให้ราคาของตลาด Futures และตลาด Spot นั้นมาบรรจบกัน แต่ตลาด Future นั้นโดยส่วนใหญ่ทุก Exchange จะเปิดให้มี Perpetual Futures ซึ่งความแตกต่างระหว่าง Perpetual Futures และตลาดสัญญาอนุพันธ์ธรรมดาก็คือ Perpetual Futures ไม่มีวันหมดอายุ และเมื่อไม่มีวันหมดอายุการชำระ (Settlement) นั้นจะไม่เกิดขึ้น
แล้วทำไมไม่มีการชำระเกิดขึ้นถึงเป็นปัญหาล่ะ? หลังจากอ่านมาถึงตรงนี้หลายคนคงมีคำถามนี้ในใจ ปัญหาของมันคือหากไม่มีการชำระเกิดขึ้น ราคาของตลาด Futures และตลาด Spot นั้นจะแตกต่างกันอย่างควบคุมไม่ได้ ด้วยปัญหาตรงนี้ Funding rate จึงเกิดขึ้น
Funding rate คืออะไร?
เราอาจมองได้ง่ายๆว่า Funding rate คือเครื่องมือควบคุมให้ราคา Futures ที่ไม่มีวันหมดอายุนั้น ยังอยู่บนพื้นฐานราคาจริง คิดภาพถึงหากว่าเราเปิด Long position หรือ Buy ซึ่งหมายถึง ซื้อถูกขายแพงเหมือนการเก็งกำไรทั่วไป แต่มันคือสัญญาอนุพันธ์นั่นหมายความว่าเรามีสัญญาตกลงกับคนขายไว้ว่าเราจะซื้อในอนาคตด้วยราคาที่กำหนดไว้ ในระหว่างที่คนขายล็อคสินค้าไว้ให้เรานั้น เค้าจะต้องเสียทั้งเวลา เสียโอกาส และหากมันลากยาวไปแบบไม่มีกำหนดเวลาซื้อที่แน่นอน คนที่ขายให้เราจะไม่ได้อะไรเลยและไม่รู้ว่าจะได้มีการปิดสัญญาเมื่อไร Funding rate เข้ามาช่วยตรงนี้เพื่อให้มีการชำระเกิดขึ้น ทดแทนกับค่าต่างๆที่เสียไป
คิดภาพหากราคาอยู่ในช่วงขาขึ้น (Bull market) และนักเทรด bitcoin ทุกคนพากันเปิด Long position นั่นหมายถึงจะมีการ offer เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จนสุดท้ายราคาของตลาด Futures สูงขึ้นมากกว่าตลาด spot หรือหากอยู่ในตลาดขาลง (Bear market) และนักเทรด bitcoin ทุกคนพากันเปิด Short position นั่นหมายถึงมีการขายเพิ่มขึ้นอย่างมาก จนในที่สุดราคาของตลาด Futures ลดลงมากกว่าตลาด Spot ในตรงนี้เองที่ Funding rate เข้ามามีบทบาท โดยทำหน้าที่คล้ายๆการจ่ายดอกเบี้ย แต่ก้ไม่เชิงดอกเบี้ยซะทีเดียว เพราะ Funding rate นั้นไม่จำเป็นต้องจ่ายตลอดเวลา แต่จ่ายตามเวลาที่กำหนดเท่านั้น ใน Binance สามารถดูอัตราที่ต้องจ่ายได้ที่ช่อง Funding/countdown โดย Funding คือเปอเซ็นต์ที่ต้องจ่าย และ Countdown คือ Period เวลาครั้งต่อไปที่ต้องจ่าย (ใน Binance คือทุก 8 ชั่วโมง)
การกำหนดว่าใครเป็นผู้จ่ายนั้น ขึ้นอยู่กับราคาตลาด Futures และ Spot
-หากราคา Futures ต่ำกว่าราคา Spot หรือเรียกว่า Discount (Funding rate negative) ผู้ที่เปิด Position short ต้องจ่ายให้ผู้เปิด position long ในตรงนี้จะทำให้ผู้ที่เปิด Short ทำการปิด position หรือย้ายไป long กันมากขึ้น ราคาจะขึ้นมาสัมพันธ์กับ Spot ในที่สุด
-หากราคา Futures สูงกว่าตลาด Spot หรือเรียกว่า Premium (Funding rate positive) ผู้ที่เปิด Position long ต้องจ่ายให้ผู้ที่เปิด position short และเช่นเดียวกันทำให้ position long นั้นปิด หรือย้ายมา short แทน ราคาก็จะลดลงจนสัมพันธ์กับ Spot ในที่สุด
ประโยชน์ของการรู้และเข้าใจวิธีการทำงานของ Funding rate นั้นคือ จะทำให้เราเลือกกลยุทธ์และแผนการเทรด bitcoin บนตลาด Futures ของเราได้ดีขึ้น เพราะจุดนี้อาจทำให้เราได้กำไรจากการจ่าย หรือเสียกำไรจากการต้องเป็นผู้จ่าย ความเป็นไปได้ทั้งสองทางนี้ทำให้เราควรที่จะรู้และเข้าใจ Funding rate หากเราจะเริ่มการเทรด bitcoin ในตลาด Futures
เทคนิคเล็กๆ น้อยๆสำหรับคนไม่ต้องการคำนวณอะไรให้วุ่นวายคือ ตอนที่จะถึงเวลา Funding rate นั้นเราสามารถปิด Position เพื่อไม่ต้องจ่ายอะไรทั้งนั้นแต่มันอาจทำให้เราไม่ได้รับด้วยเช่นกัน และเมื่อเวลาที่ต้องจ่ายผ่านไปแล้ว เราค่อยกลับมาเปิด Position ใหม่อีกครั้ง
อีกอย่างคือ หากเราสามารถแยกได้ระหว่าง Funding positive และ Funding negative จะทำให้เราเดาทิศทางของราคาที่กำลังจะเกิดขึ้นได้ เราจะสามารถเลือกปิดหรือเปิด Position ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
อย่างที่เห็นกันไปแล้วว่าตลาด Futures นั้นมีรายละเอียดมากมายหลายอย่างที่เราควรรู้เพราะมันจะเป็นประโยชน์กับเราในการเทรด bitcoin ในตลาดที่ซับซ้อนแบบ Futures และ Funding rate นั้นเป็นแค่ 1 ในหลายๆอย่างที่คุณควรเข้าใจ และเราควรตะหนักไว้ว่า ยิ่งเรารู้มากเท่าไร โอกาสที่เราจะโดนบังคัญปิดบัญชี (Liquidation) ก็ยิ่งมีน้อยลงเท่านั้น เพราะฉะนั้นแนะนำให้ทุกคนหาความรู้ทุกอย่างและอย่าลืมคำนวณ Funding rate เข้าไปด้วยในตอนที่คุณหา Position การเข้าของคุณ
แหล่งที่มา/ต้นฉบับ :
แสดงความคิดเห็น