Learn and Earn คู่มือการเทรด Futures
news-234.png
ADMIN May 02, 2021 6693

Learn and Earn คู่มือการเทรด Futures

1.1 ตลาด Futures คืออะไร ? 

สัญญาซื้อขายล่วงหน้าหรือตลาดอนุพันธ์นั้นคือสัญญาชนิดหนึ่งที่มูลค่าของตัวเองขึ้นอยู่กับสิ่งอื่นที่เรียกว่า สินทรัพย์อ้างอิง (Underlying Asset) สัญญา Futures หมายถึงข้อตกลงระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายที่ตกลงกันที่จะซื้อขายสินค้าหรือสินทรัพย์อ้างอิงใดๆวันนี้แต่ใช้ราคาในอนาคตและอาจจะส่งมอบในอนาคต 

โดยปกติแล้ว Futures มีไว้ประกันความเสี่ยงด้านราคาในอนาคตใน 2 กรณี

  1. มีสินค้าแต่ยังไม่พร้อมขาย แต่จะขายได้ในอนาคต

  2. มีสินค้าขายได้ แต่ยังไม่อยากขายเพราะเอาไปทำประโยชน์ได้อีก จะขายในอนาคต

ในตลาดคริปโต Futures เป็นตลาดสำหรับซื้อขายสัญญาล่วงหน้าซึ่งอ้างอิงกับราคาเหรียญคริปโตในตลาด  ในการเทรด Futures คุณจะสามารถทำกำไรได้โดยการทำการ long หรือ short สัญญาซื้อขายล่วงหน้า โดยปกติสัญญา Futures จะมีอยู่ 2 ประเภท ให้ทำการซื้อขาย ได้แก่

1. สัญญาประเภท Long สัญญาที่จะมีมูลค่าเพิ่มขึ้น เมื่อราคาอ้างอิงของเหรียญสูงขึ้น แต่สัญญานี้จะมีมูลค่าลดลง หากราคาอ้างอิงของเหรียญลดลง

2. สัญญาประเภท Short สัญญาที่จะมีมูลค่าเพิ่มขึ้น เมื่อราคาอ้างอิงของเหรียญลดลง แต่สัญญานี้จะมีมูลค่าลดลง หากราคาอ้างอิงของเหรียญเพิ่มขึ้น

โดยปกติแล้วสัญญา Futures นั้นจะมีระยะเวลาที่จะตกลงซื้อขายกันล่วงหน้าแต่ในตลาด Futures ของ Binance จะถูกแบ่งเป็น Futures Perpetual และ Futures Quarterly โดย Futures Perpetual นั้นสัญญา Futures ทั่วไปแต่จะไม่มีการหมดอายุ แต่ Futures Quarterly ก็ตรงตามชื่อคือจะหมดอายุทุกๆไตรมาส

 

1.2 การเปิดบัญชี Futures

1.2.1  เปิดหน้าหลักของ [Binance Futures] หลังจากนั้นให้เข้าสู่ระบบบัญชี Binance ของคุณ แล้วคลิก "เปิดบัญชี" ซึ่งจะนำคุณไปยังอินเทอร์เฟซการเทรด Futures

1.2.2  เลือกใส่รหัสแนะนำ Futures Referral Code จากเพื่อนของคุณ แล้วคลิก 'เปิดตอนนี้' เพื่อเปิดบัญชี Futures ของคุณ

1.2.3  หากคุณยังไม่ได้สมัครบัญชี Binance ให้คลิก "ลงทะเบียน" ซึ่งจะนำคุณไปยังหน้าการลงทะเบียน โปรดทำตามขั้นตอนเพื่อสมัครบัญชี Binance ของคุณ

1.2.4 หรือคุณสามารถไปยังอินเทอร์เฟซ [Futures Trading] ได้โดยตรง แล้วคลิก "เปิดตอนนี้" เพื่อเปิดบัญชี Futures ของคุณ

โดยปัจจุบันคุณจะต้องทำการตอบคำถามทดสอบความพร้อมก่อนการเริ่มเทรด Futures เพื่อให้คุณแน่ใจว่าคุณมีความรู้เพียงพอในการเทรดตลาด Futures 

1.2.5 หลังจากนั้น บัญชี Futures จะเปิดใช้งานสำเร็จและคุณสามารถเริ่มเทรดได้เมื่อคุณได้ฝากเงินไปยังบัญชีของคุณแล้ว

หมายเหตุ:

คุณต้องเปิดใช้งานการยืนยันตัวตน 2FA เพื่อให้สามารถฝากเงินไปยังบัญชีได้ก่อนเริ่มเทรด Binance Futures

 

1.3 การโอน Asset มาที่ Futures Wallet - Web 

หากต้องการเริ่มเทรดใน Binance Futures คุณต้องโอนสินทรัพย์จาก Exchange Wallet ไปยัง Futures Wallet โปรดดูคำแนะนำต่อไปนี้ โปรดทราบว่า USDⓈ-M Futures และ COIN-M Futures ไม่ได้ใช้ Wallet เดียวกัน หากคุณต้องการโอนสินทรัพย์ไปยัง USDⓈ-M Futures Wallet คุณต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าอยู่ในอินเทอร์เฟซการเทรด USDⓈ-M Futures ในทางกลับกัน หากคุณต้องการโอนเงินไปยัง COIN-M Futures Wallet คุณต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าอยู่ในอินเทอร์เฟซการเทรด COIN-M Futures

1.3.1 หลังไปที่หน้าการเทรด Binance Futures แล้ว ให้คลิก 【โอน】

1.3.2  เลือกประเภทของสินทรัพย์ที่ต้องการโอนไปยังบัญชี Futures ของคุณ ใส่ยอดคริปโตแล้วคลิก 【Confirm - ยืนยัน】

1.3.3 เมื่อโอนสินทรัพย์จาก Exchange Wallet ไปยัง Futures Wallet สำเร็จแล้ว คุณสามารถดูยอดคงเหลือได้ในส่วนนี้

1.3.4 หากคุณต้องการโอนยอดที่มีอยู่ในบัญชี Futures ออก ให้คลิกไอคอน 【เปลี่ยน】เพื่อเปลี่ยนจุดหมายปลายทางการโอนเงิน ใส่ยอดที่คุณต้องการโอนออกแล้วคลิก 【Confirm ยืนยัน】

จำนวนสูงสุดที่ถอนได้:

  • จำนวนสูงสุดที่ถอนได้สำหรับ Cross Wallet < crossWalletBalanace - crossPosition Maintenance Margin

  • จำนวนสูงสุดที่ถอนได้สำหรับ Isolated Wallet < isolatedWalletBalance - isolatedPosition Maintenance Margin

 

1.4 การโอน Asset มาที่ Futures Wallet - App 

  1. ไปที่ Wallet รวมทั้งหมด 

  2.  เลือกประเภทของสินทรัพย์ที่ต้องการโอนไปยังบัญชี Futures ของคุณ ใส่ยอดคริปโตแล้วคลิก 【Confirm Transfer - ยืนยัน】

  3. ดูกระเป๋าที่แน่ใจว่าเราโอนจาก Spot ไป Futures ถูกต้อง

Day 2 :

 

2.1 Users Interface 

 

 

A: ในบริเวณนี้คุณสามารถดูรายละเอียดได้ดังนี้ 

  • เลือกคู่สัญญา contract ที่ต้องการซื้อขาย 

  • ปรับค่า leverage (ค่าเริ่มต้นคือ 20x) 

  • ปรับ margin ระหว่าง cross margin และ isolated margin 

  • เช็คราคา Mark Price โดยราคานี้จะมีผลต่อ liquidations (การบังคับปิดสัญญา)

  • ตรวจสอบอัตรา funding rate 

  • ตรวจสอบราคาที่เปลี่ยนแปลงใน 24 ชั่วโมง 

  • ตรวจสอบปริมาณการซื้อขายตลอด 24 ชั่วโมง

B :  กราฟราคาของคู่สัญญาที่เราเลือกโดยที่มุมด้านขวาบนของกราฟสามารถเปลี่ยนรูปแบบกราฟไปมาระหว่างแบบ Original, แบบTradingView หรือดู depth ของ order book แบบเรียลไทม์

C: ในบริเวณนี้จะแสดงข้อมูลเกี่ยวกับข้อมูลการเปิด Postiion ทั้งหมดโดยมีรายละเอียดดังนี้

  • ตรวจสอบ positions ณ ปัจจุบัน

  • ยอดเงิน margin

  • ดู PNL (Profit and Loss)

  • ดูคำสั่งซื้อที่เปิดอยู่ (Open orders) 

  • ดูประวัติคำสั่งซื้อ (Order History)

  • ดูประวัติการซื้อขาย (Trade History) และธุรกรรมเต็มรูปแบบในช่วงเวลาที่กำหนด

D : ตรวจสอบ Margin Ratio และ Margin Balance รวมถึงสามารถเลือกฟังก์ชั่นการซื้อคริปโต (Buy Crypto) ฝากและโอนได้ที่บริเวณนี้ 

E :  คุณสามารถป้อนคำสั่งซื้อของคุณ และสลับไปมาระหว่างประเภทคำสั่งซื้อที่แตกต่างกันการซื้อขายในรูปแบบต่างๆ Place order มีดังนี้

  • Limit 

  • Market 

  • Stop Limit 

  • Stop Market 

  • Trailing Stop

F :  นี่คือที่ที่คุณสามารถดูข้อมูล order book รวมถึง order depth ต่าง ๆ ได้

ถ้าคุณใช้ Application โปรดดูรายละเอียดดังนี้ 

 

2.2 Leverage คืออะไร?

 

Leverage หรือบางคนอาจเรียกว่า ตัวทด ตัวคูณ นั้นความหมายที่แท้จริงตาม dictionary ของมันก็คือ การงัด หรืออำนาจ แล้วมันเกี่ยวอะไรกับการซื้อคริบโตเคอร์เรนซี่ล่ะ? ในทางการเงินนั้น Leverage หมายถึงการยืมเงินจำนวนหนึ่งเพื่อนำมาเทรดโดยที่วางเงินประกัน (Margin) เอาไว้ Leverage นั้นมีประโยชน์อย่างมากในการเทรดเพราะจะช่วยเพิ่มผลกำไรของเราได้มากกว่าจำนวนทุนที่เรามีอยู่ Leverage นั้นมีการใช้งานในการเทรดแบบสัญญาอนุพันธ์ (Futures) ไม่ว่าจะเป็น Forex, fiat และแน่นอนการซื้อคริปโตเคอร์เรนซี่ด้วยเช่นกัน

ปกติแล้ว Leverage นั้นจะคิดโดยคูณจากเงินประกันของเรา (Margin) ซึ่งส่วนใหญ่เราจะสามารถปรับได้ เช่น 100x จะหมายถึง 1:100 หรือคำนวนมูลค่าง่ายๆ คือเราสามารถซื้อสินทรัพย์ที่มูลค่ามากกว่าเงินประกันที่มีถึง 100 เท่า ถ้ายกตัวอย่างให้เห็นภาพคือ

หาก BTC อยู่ที่ราคา 50,000 USDT เราสามารถใช้ 500 USDT เพื่อซื้อ 1 BTC ได้ถ้าเราปรับ Leverage ไปที่ 100x ใน Binance นั้นให้คุณปรับ Leverage สูงสุดได้ถึง 125x เลยทีเดียว 

สรุปได้ว่า Leverage คือเครื่องมืออย่างหนึ่งซึ่งจะช่วยเพิ่มมูลค่ากำไร และประสิทธิภาพในการเทรดของเราได้อย่างมาก แต่ในทางกลับกันควรใช้อย่างระมัดระวัง เนื่องจากหากขาดทุนมากกว่าทุนของเรา อาจทำให้ถูกบังคับปิดสัญญา (Liquidate) ทันที

Binance Futures ช่วยให้คุณสามารถปรับเลเวอร์เลจสำหรับสัญญาแต่ละรายการได้ด้วยตัวเอง หากต้องการเลือกสัญญา ให้ไปที่ด้านบนซ้ายของหน้าเว็บ และวางเมาส์เหนือสัญญาปัจจุบัน (BTCUSDT เป็นค่าเริ่มต้น)

หากต้องการปรับเลเวอร์เลจ ให้คลิกที่จำนวนเลเวอร์เลจปัจจุบันของคุณ โดยค่าเริ่มต้นคือ 20xโดยสามารถปรับแถบเลื่อนไปมาเพื่อปรับ levergae หรือพิมพ์จำนวนที่ต้องการ และคลิก "ยืนยัน"

 

2.3 Cross Margin และ Isolated Margin?

การเทรด Margin คือการเทรดโดยการยืมสินทรัพย์มาเทรดเพื่อให้สามารถเทรดใน Position ที่ใหญ่ขึ้นโดยการวางเงินค้ำประกันไว้ โดยปกติแล้วในตลาด Futures นั้นนักเทรดสามารถทำกำไรได้ทั้งขาขึ้นและขาลง หากแต่นักเทรดไปผิดทิศทาง (ตลาดขึ้นแต่เรา Short หมายถึงเราคิดว่าตลาดจะขาลง)  นักเทรจำเป็นที่จะต้องเพิ่มเงินทุนเข้าไปเพื่อไม่ให้พอร์ทถูกยังคับปิด (liquidation) ถ้านักเทรดคนนั้นไม่ทำการเติมเงินเข้าไปเพิ่มเพื่อก็มีโอกาสที่พอร์ตจะโดนบังคับปิดสูง โดย Binance Futures จะแบ่งออกเป็น 2 แบบคือ  Isolated margin และ Cross Margin

 

Margin ในโหมด  isolated margin จะถูกแยกกันในแต่ละคู่การเทรด:

  • Cross Margin โดยการตั้งค่านี้จะใช้จำนวนเงินทุนทั้งหมดใน wallet เป็นหลักประกันสำหรับการเทรดสัญญาคริปโต ซึ่งข้อดีคือเราจะทำให้สามารถถือ Position ได้นาน แต่ในขณะเดียวกันถ้าเราไปผิดทาง ระบบจะดึงเอาเงินทั้งหมดให้พอร์ตของเราเติมเข้าไปเพื่อไม่ให้ postition โดนปิด แต่ถ้าสุดท้ายระบบดึงเอาเงินทั้งหมดมาใช้แล้วก็จะบังคับปิดเช่นเดียวกัน 

  • Isolated margin จะเป็นการแบ่งส่วนของเงินออกมาไว้เพื่อป้องกันการดึงเงินส่วนอื่นออกมา หมายความว่าระบบจะดึงเงินเฉพาะใน Postion นั้นเท่านั้นจะไม่มีการดึงเงินส่วนอื่นในการรักษา position ข้อดีคือเราสามารถป้องกันหรือจัดสรรเงินในการเล่น position ต่างๆได้ง่ายแต่ข้อเสียคือถ้าเราไปผิดทางแค่นิดเดียวก็สามารถโดนบังคับปิดสัญญาได้โดยเร็ว

   

Day 3 

 

3. เครื่องมือในการเปิด order ในตลาด Futures มีดังนี้

3.1 Limit Order

คำสั่ง limit order  คือคำสั่งซื้อที่คุณวาง order ไว้ใน order book ในราคาที่ต้องการ เมื่อคุณเปิด position ด้วย limit order นั้น การซื้อขายจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อราคาตลาดถึง limit price ดังนั้นคุณอาจใช้คำสั่ง limit order ในการซื้อที่ราคาตำ่กว่าตลาด และขายสูงกว่าราคาตลาด 

A : limit price 

B : Position Size 

จากรูปจะเห็นได้ว่า A คือช่องที่เราใส่ limit Price และ B คือช่องที่ใส่ Position Size คือเราจะเปิด order ไว้รอใน order book จนเมื่อราคามาถึงจุด A ระบบจะทำการเปิด postion ให้เราอัตโนมัติโดยที่เราไม่ต้องนั่งรอในความเป็นจริงเราไม่รู้ได้เลยว่าเมื่อไหร่ราคาจะมาถึงจุดที่เราจะเปิด position ได้

 

นอกจากนี้แล้วการใช้ Limit Order นั้นเราสามารถกำหนดการซื้อขาย position ของเราได้หลายแบบ 

เมื่อคุณใช้คำสั่ง limit orders คุณสามารถกำหนดคำแนะนำเพิ่มเติมพร้อมกับคำสั่งซื้อของคุณได้ ใน Binance Futures โดยสามารถกำหนดเป็น Post-Only หรือ Time in Force (TIF) และการกำหนดลักษณะเพิ่มเติม limit orders คุณสามารถตั้งค่าได้ตามด้านล่าง

Post Only 

Post Only หมายความว่า Order ของคุณจะถูกเพิ่มลงใน Order Book และจะไม่ดำเนินการทันทีก่อน Order ที่มีอยู่ใน Order book  สิ่งนี้มีประโยชน์หากคุณต้องการจ่ายค่าธรรมเนียม maker fees เท่านั้น (ตอนนี้คำสั่งนี้ถูกแยกออกจาก limit order แล้ว)

TIF 

คำสั่ง TIF ช่วยให้คุณสามารถระบุระยะเวลาที่ order ทำงานได้ก่อนที่จะดำเนินการหรือหมดเวลาโดยคุณสามารถเลือกได้หนึ่งตัวเลือกจากคำสั่งTIF:

  • GTC (Good Till Cancel): คำสั่งซื้อจะยังคง active จนกว่าสัญญาได้รับการซื้อขายทั้งหมดหรือถูกยกเลิก

  • IOC (ทันทีหรือยกเลิก): Order จะดำเนินการทันที (ทั้งหมดหรือบางส่วน) ถ้าบางส่วนของสัญญาได้มีการซื้อขายแล้วคำสั่งซื้อขายที่เหลือจะถูกยกเลิกทันที 

  • FOK (Fill Or Kill):  Order ถูกดำเนินการทั้งหมดทันทีถ้าไม่เช่นนั้นจะไม่มีการซื้อขายใดๆทั้งหมด

เมื่อคุณอยู่ในโหมดทางเดียวการทำเครื่องหมายลดอย่างเดียวจะช่วยให้มั่นใจได้ว่าคำสั่งซื้อใหม่ที่คุณตั้งไว้จะลดลงเท่านั้นและจะไม่เพิ่มตำแหน่งที่เปิดอยู่ในปัจจุบัน

3.2 Market order 

market order คือคำสั่งซื้อหรือขายในราคาปัจจุบันที่ดีที่สุดทันที จะต่างจาก limit order ที่เมื่อเปิดคำสั่งแล้วจะออร์เดอร์จะไปอยู่ใน order book เมื่อวางคำสั่งซื้อขายแบบ market order คุณจะต้องจ่ายค่าธรรมเนียมในฐานะ market taker

A : ราคาตลาด ณ ปัจจุบัน 

B : ขนาด Position Size 

 

3.3 Stop Limit Order

วิธีที่ง่ายที่สุดในการทำความเข้าใจคำสั่ง Stop Limit คือการแยก stop price และ limit price โดยเมื่อราคามาถึง stop price ที่เราตั้งไว้ระบบจะทริกเกอร์ให้วางคำสั่งซื้อขายใน order book โดยใช้ราคา limit price ที่เรากำหนดทันที

แม้ว่า stop และ limit prices สามารถเซ็ตให้เท่ากันได้แต่ในความเป็นจริงมันจะดีกว่าสำหรับคุณที่จะตั้ง  stop price (Trigger Price ) ให้สูงกว่าราคา limit price สำหรับคำสั่งขายเล็กน้อยหรือต่ำกว่าราคา limit price สำหรับคำสั่งซื้อเล็กน้อยเพื่อเพิ่มโอกาสที่ limit order ของคุณจะได้รับการเติมเต็มหลังจากถึง stop price

A: Stop Price (ราคา trigger) 

B : ราคาที่ต้องการเปิด position 

C : Position Size 

ในที่นี้หากเราเปิด position ด้วยคำสั่ง stop limit แล้วนั้น เมื่อราคาตลาดมาถึงที่จุด A ระบบจะสร้างคำสั่งในการเปิด long หรือ Short ด้วยราคาที่จุด B ขนาด position ตาม C 

 

3.4 Stop Market Order

เหมือนกันกับเดียวกับคำสั่ง Stop Limit Order เพียงแต่คำสั่ง Stop Market จะใช้ Stop Price trigger และเมื่อถึงราคา Stop price ระบบจะวางคำสั่งซื้อหรือขายราคาตลาดทันที

A: Stop Price (ราคา trigger) 

B : Position Size 

C : ราคาตลาด ณ ปัจจุบัน 

ในที่นี้หากเราเปิด position ด้วยคำสั่ง stop market order แล้วนั้น เมื่อราคาตลาดมาถึงที่จุด A ระบบจะสร้างคำสั่งในการเปิด long หรือ Short ด้วยราคาตลาด (จุด C) ขนาด position ตามจุด B  

 

3.5 Trailing Stop 

คำสั่ง  trailing stop ช่วยให้คุณล็อคผลกำไรในขณะเดียวกันก็ป้องกันการขาดทุนในขณะที่กำลังเปิด position อยู่ สำหรับการเปิด Long potition หมายความว่า Trailing Stop จะขยับขึ้นตามราคาหากราคาสูงขึ้น อย่างไรก็ตามหากราคาเคลื่อนตัวลง trailing stopจะหยุดเคลื่อนที่ หากราคาขยับมาถึงเปอร์เซ็นต์นึง (เรียกว่า Callback Rate) สวนทางกับทิศทางที่เรากำหนดระบบจะออกคำสั่งขายทันที เช่นเดียวกับ Short Position แต่เพียงสวนทางกัน โดยที่ trailing stop จะเคลื่อนตัวลงพร้อมกับที่ตลาดกำลังเคลื่อนลง แต่จะหยุดเคลื่อนไหวหากตลาดเริ่มขึ้น หากราคาเคลื่อนย้ายเปอร์เซ็นต์ที่เฉพาะเจาะจงไปในทิศทางอื่น ระบบจะออกคำสั่งซื้อทันที

Activation Price คือราคาที่ทริกเกอร์ trailing stop order หากคุณไม่ได้ระบุ Activation Price ราคานี้จะเป็นราคาLast Price หรือ Mark Price คุณสามารถกำหนดราคาเป็นทริกเกอร์ได้ที่ด้านล่างของช่องป้อนคำสั่งซื้อ

Callback Rate คือสิ่งที่กำหนดจำนวนเปอร์เซ็นต์ trailing stop โดยจะ "ติดตาม" ราคา ดังนั้นหากคุณตั้งค่าCallback Rate เป็น 1% Trailing Stop จะติดตามราคาซึ่งมี gap อยู่ที่ 1% ในกรณีที่ราคาเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับของคุณ แต่ถ้าหากราคาเคลื่อนไหวมากกว่า 1% ในทิศทางตรงกันข้ามกับการซื้อขายของคุณระบบจะออกคำสั่งซื้อหรือขาย (ขึ้นอยู่กับทิศทางการซื้อขายของคุณ)

A: Callback rate 

B : Activation Price (จุดที่คิดว่าจะ take profit เมื่อทิศทางที่เราคาดเดาสวนทางกับตลาด

C : Position Size 

ในที่นี้หมายความว่าเราเปิด position size ตามขนาดจุด C โดยสามารถล็อกกำไรที่เราต้องการได้ที่เราเซ็ตไว้ที่จุด A และเมื่อราคาตลาดดำเนินไปในทิศทางที่เราคาดเดา ระบบจะล็อกกำไรให้เราตาม % callback rate แต่เมื่อตลาดสวนทาง trailing stop จะหยุดเคลื่อนที่จนถึงจุด activation price 

Day 4 : 

4.1 Liquidation คืออะไร?

Liquidation เกิดขึ้นเมื่อ Margin Balance ต่ำกว่า Maintenance Margin โดยที่ Margin Balance คือยอดคงเหลือของบัญชี Binance Futures ซึ่งรวม unrealized PnL (Profit and Loss) ดังนั้นผลกำไรและขาดทุนที่เปลี่ยนแปลงมีผลต่อ Margin Balance ในโหมด Cross Margin นั้นการนับ Balance จะนับรวม Position ทั้งหมด แต่โหมด Isolated Margin จะนับ Balance เฉพาะ Position นั้นๆ

Maintenance Margin คือมูลค่าขั้นต่ำที่คุณต้องใช้เพื่อรักษา Position ที่เปิดอยู่ ขึ้นอยู่กับ Position Size โดยที่ Position ยิ่งใหญ่มากเท่าไหร่ Maintenance Margin ก็จะยิ่งสูงมากเท่านั้น 

เราสามารถเช็ค Margin Ratio ได้ตามรูปด้านล่าง ถ้า Margin Ration ถึง 100% แล้วนั้นระบบจะบังคับปิด Position นั้นหรือที่เรียกว่า Liquidation ( พอร์ตแตก)

Margin Balance = Wallet Balance + Unrealised PNL

Position จะโดน liquidate เมื่อ Margin Balance น้อยกว่าหรือเท่ากับ Maintenance Margin 

เมื่อเกิดการบังคับปิดสัญญาแล้วนั้น ออร์เดอร์ที่เปิดไว้ทั้งหมดจะถูกยกเลิก ตามหลักการแล้วคุณควรจะคอยดูและจัดการ Position ของคุณหลีกเลี่ยง auto-liquidation ซึ่งมาพร้อมกับค่าธรรมเนียมเพิ่มเติม ในกรณีที่ Position ของคุณใกล้จะโดน liquidate คุณอาจจะพิจารณาปิด Position เองแทนที่จะรอการบังคับปิดอัตโนมัติ 

4.2 Funding Rate คืออะไร?

Funding Rate สร้างขึ้นมาเพื่อให้ราคา perpetual futures contract ใกล้เคียงกับสินทรัพย์อ้างอิงหรือราคาในตลาด Spot มากที่สุด โดยพื้นฐานแล้ว Trader จะจ่ายค่า Funding Fee ให้กับให้กันและกันขึ้นอยู่กับ Position ที่เปิดอยู่ โดยสิ่งที่กำหนดว่าฝ่ายใดจะได้รับเงินหรือจ่าย Funding Rate นั้นจะพิจารณาจากความแตกต่างระหว่างราคา perpetual futures กับราคาตลาด Spot 

Funding Rate เป็นบวก ผู้ที่เปิด Longs จะต้องจ่ายคนที่เปิด Short position เมื่อ Funding Rate เป็นลบ ผู้ที่เปิด Short จะต้องจ่ายค่า Funding Rate ให้กับผู้ที่จ่าย Long Position 

ทั้งหมดนี้ขึ้นอยู่กับ Position ที่เปิดอยู่โดยที่คุณจะเป็นได้ทั้งฝั่งที่จ่ายหรือรับ Funding Rate ก็ได้ ใน Funding Rate ใน Binance Futures จะเกิดการจ่ายทุกๆ 8 ชั่วโมง โดยคุณสามารถตรวจสอบเวลาและ Funding Rateโดยประมาณของระยะเวลา Funding Rate ครั้งถัดไปได้ที่ด้านบนของหน้าถัดจาก Mark Price คุณสามารถดูประวัติ Funding Rate ได้ที่นี่ 

4.3 Trading Fees ในตลาด Futures 

ทุกครั้งที่มีการเปิดและปิด Position คุณควรจะต้องมีการวางแผนหรือคำนวนคร่าวๆล่วงหน้าว่ามีค่า Fee ใดๆบ้างว่าจาก position ที่เราเปิดจะต้องค่าธรรมเนียมอะไรบ้าง โดยค่าธรรมเนียมการเทรดจะแตกต่างกันตามระดับ VIP โดยที่ค่าธรรมเนียม USDS-M Futures Maker เริ่มต้นที่ 0.02%  และ และ Taker 0.04% เพราะฉะนั้นในการคำนวนค่าธรรมเนียมนั้นเราจะต้องดูระดับ 1) VIP ของเรา ว่าต้องเสียค่าธรรมเนียมที่เท่าไหร่ 2)ประเภท order ที่เราใช้เพราะ order เช่น market order จะต้อง จ่ายค่าธรรมเนียมในฐานะ Taker และ 3) ต้องดูว่าเราเปิด Short หรือ Long เพื่อดูว่าเราจะต้องจ่ายค่า Funding Fee หรือไม่ นอกจากนี้แล้วถ้าเราปล่อยให้ระบบบังคับปิดสัญญาอัตโนมัติ (auto- liquidation) เราจะต้องจ่ายค่าธรรมเนียมตรงนั้นเพิ่มเช่นเดียวกัน ดูค่าธรรมเนียมได้ที่นี่

Day 5 :

5.1 Market Price - Mark Price คืออะไร? 

Binance Futures ใช้ Last Price และ Mark Price เพื่อหลีกเลี่ยงะการโดนบังคับปิดบัญชีโดยไม่จำเป็นในช่วงที่ตลาดมีความผันผวนสูง

Last Price หมายถึงราคาสุดท้ายที่สัญญามีการซื้อขาย กล่าวอีกนัยหนึ่งการเทรดครั้งสุดท้ายในประวัติการการซื้อขายจะเป็นตัวกำหนด Last Price และราคา Last Price จะถูกใช้สำหรับคำนวณ realized PnL (Profit and Loss)

Mark Price ออกแบบมาเพื่อป้องกันการปั่นราคา คำนวณโดยใช้การรวมข้อมูล  funding data และข้อมูลราคาจากการแลกเปลี่ยนตลาด Spot ชั้นนำจากหลากหลายที่ โดยMark Price มีไว้เพื่อคำนวนการบังคับปิดสัญญา (liquidation prices) และ unrealized PnL

ในการใช้เครื่องมือในการเปิด order อย่างเช่น Litmit order หรือ Market Order นั้นเราสามารถตั้งค่า Take Profit และ Stop Loss ตามราคา Mark Price หรือ Last Price ได้ หรืออย่างออร์เดอร์ประเภท Trailing Stop นั้นถ้าเราไม่ set Activation price ระบบจะ set Activation price ตาม Trigger ที่เรา set ไว้โดยเราสามารถเลือก Trigger เป็น last Price หรือ Mark Price ได้ตามรูปด้านล่าง

5.2 Take Profit - Stop Loss 

การ Take Profit (TP) มีความหมายตรงตามชื่อคือการทำกำไร และ Stop loss (SL) คือการหยุดการขาดทุน กรณีทั้งสองจะเกิดขึ้นเวลาเราปิด Position การ Take Profit คือการปิด Position เพราะเราพึงพอใจกับกำไรที่ได้อยู่แล้ว ส่วน Stop loss คือเราปิด position เพื่อไม่ให้ขาดทุนหรือเสียกำไรไปมากกว่านี้ 

ปกติแล้ว Take Profit และ Stop loss เป็นสองสิ่งสำคัญสำหรับ Trader ในการกำหนดกลยุทธ์การเทรดว่าเราต้องการได้กำไรที่เท่าไหร่ และถ้าเหรียญที่เราเทรดไม่เป็นไปตามแผน เราจะยอกเสียกำไรโดยการ stop loss ที่เท่าไหร่ การทำเช่นนี้เราสามารถทำโดยการปิด position ได้เองในขณะที่เราเห็นราคาไปแตะในจุดที่เราพึงพอใจ แต่เนื่องจากตลาดคริปโตเคอร์เรนซี่เป็นตลาดที่มีความผันผวนสูงกว่าตลาดแบบดั้งเดิมและมีการเทรดตลอด 24 ชั่วโมง ดังนั้นการเปิดปิดด้วยเราเองค่อนข้างทำได้ลำบาก ดังนั้นใน Binance จะมีระบบ TP และ SL ที่มาพร้อมกับ order ที่เราเปิด 

 

วิธีการตั้งค่า Take Profit และ Stop Loss 

ในกรณีนี้เราจะยกตัวอย่างการเปิด order แบบ Market 

1. จากรูปจะเห็นได้ว่าถ้าจะเรียกใช้ TP/SL จะต้องทำการ ติ๊กถูกที่ช่องสี่เหลี่ยมและระบบจะโชว์ช่องให้ใส่ราคาที่เราต้องการใส่ Take Profit และ Stop Loss 

2. เราสามารถเลือกได้ว่าเราจะใช้ราคา Mark Price หรือ Last Price ในการตั้ง TP/SL โดยที่ Last Price คือราคาสุดท้ายในการซื้อขายในตลาด ส่วน Mark Price จะคำนวนจาก Funding Fee และ Index Price โดยราคาทั้งสองจะไม่เท่ากัน 

3. เมื่อเรามีการเปิด Position ไปแล้วนั้นแล้วราคาวิ่งไปถึงราคาที่เรา Take Profit หรือ Stop Loss ไว้แล้วนั้นระบบจะทำการปิด Position ให้เราทันทีโดยที่เราไม่ต้องปิดเอง 

นอกจากนี้ถ้าเราเปิด Position โดยที่เราไม่ได้ตั้ง TP/SL เราก็สามารถมา set ที่หลังหรือเปลี่ยนแปลงราคาได้ทีหลังโดยการเข้าไปแก้ TP/SL ของแต่ละ Position ได้เลย 

ข้อดีของการตั้ง TP/SL คือเราจะไม่พลาดโอกาสการได้กำไรหรือป้องกันการขาดทุนได้ง่ายถึงแม้ว่าเราจะได้ได้ออนไลน์หรือจ้องกราฟเอง พูดง่ายๆคือการรักษาผลกำไรและป้องกันการขาดทุนที่มากเกินไปนั้นเอง

 

5.4 ADL (Auto-deleveraging )

เมื่อคุณเปิด Position แล้วนั้นคุณจะเห็นแท่งไฟ 5 แท่งซึ่งแท่งไฟนี้คือ ADL โดยปกติแล้วเมื่อ Account ของเทรดเดอร์ลดลงต่ำกว่า 0 ทาง Binance จะดึงเงินจากกองทุนประกัน (Insurance Fund) ใช้ลดความสูญเสีย อย่างไรก็ตามในสภาพตลาดที่มีความผันผวนสูงมากๆ การดึงเงินจาก Insurance Fund ไม่สามารถทำได้ทันและเพื่อป้องกันการสูญเสียที่จะเกิดขึ้นจำเป็นที่ต้องต้องลด Position ที่เปิดอยู่ ซึ่งหมายความว่าในช่วงเวลาเช่นนี้ Position ของคุณอาจมีความเสี่ยงที่จะถูกลดลง

ลำดับของการลด Position จะพิจารณาจากคิวซึ่งเทรดเดอร์ที่ทำกำไรได้มากที่สุดและมีเลเวอเรจสูงสุดจะถูกจัดอันดับคิวแรกๆโดยคุณสามารถตรวจสอบตำแหน่งปัจจุบันของคุณในคิวได้โดยวางเมาส์เหนือ ADL ในแท็บ Position 

Day 6

Hedge Mode

ในโหมดป้องกันความเสี่ยง (Hedge) คุณสามารถถือ  long และ short positionsในเวลาเดียวกันสำหรับสัญญาเดียว สมมติว่าคุณอยู่ในภาวะขาขึ้นของราคา Bitcoin ในระยะยาวดังนั้นคุณจึงเปิด long position ในขณะเดียวกันคุณอาจต้องการ short positions  ในกรอบเวลาที่ต่ำกว่า Hedge Mode ช่วยให้คุณทำสิ่งนั้นได้ -  short positions จะไม่มีผลต่อ long position.

โหมดที่ถูกตั้งมาในระบบตอนเริ่มต้นคือ One-Way Mode ซึ่งหมายความว่าคุณไม่สามารถเปิด long และ short positionsในเวลาเดียวกันในสัญญาเดียว หากคุณพยายามที่จะเปิดอีก position คุณต้องทำการยกเลิกอีก Position ก่อน ดังนั้นหากคุณต้องการใช้ Hedge Mode คุณจะต้องเปิดใช้งานด้วยตนเอง นี่คือวิธีที่คุณทำ

1.ไปที่ด้านบนขวาของหน้าจอแล้วเลือกการตั้งค่า

2.ไปที่ Position Mode tab และเลือก Hedge Mode.

โปรดทราบว่าหากคุณมีออเดอร์หรือ Position ที่เปิดอยู่คุณจะไม่สามารถปรับ Position Mode ของคุณได้

PNL คืออะไร? 

PnL ย่อมาจากกำไรและขาดทุน (profit and loss) ซึ่งเป็น realized หรือ unrealized ก็ได้ เมื่อคุณเปิด Position อยู่ในตลาด perpetual futures PnL ของคุณจะเป็น  unrealized PnL หมายความว่าPnL ยังคงมีการเปลี่ยนแปลงตามการเคลื่อนไหวของตลาด เมื่อคุณปิด Position ของคุณแล้ว unrealized PnL จึงจะกลายเป็น realized PnL (บางส่วนหรือทั้งหมด)

เนื่องจาก  realized PnL หมายถึงกำไรหรือขาดทุนที่มาจากปิด Position จึงหมายความว่า realized PnL ไม่เกี่ยวโดยตรงกับmark price แต่เป็นเพียงราคาที่เริ่มใช้ของ Order นั้นเท่านั้น ในทางกลับกัน unrealized PnL มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาและเป็นตัวที่ส่งผลต่อการบังคับปิดบัญชี (liquidations) ดังนั้น Mark Price จึงถูกใช้เพื่อให้แน่ใจว่าการคำนวณ unrealized PnL  นั้นถูกต้องและเป็นธรรม

การคำนวน PNL นั้นเราไม่จำเป็นต้องคำนวนเองเนื่องจาก Binance นั้นมีเครื่องคิดเลขที่ไว้สำหรับคำนวนให้เรา คุณสามารถใช้ Binance Futures Calculator เพื่อคำนวณ Initial margin กำไรและขาดทุน (PnL)  Return on equity (ROE) และ Liquidation price ก่อนที่คุณจะทำการเปิด Orderใด ๆ

โดยคุณสามารถทำตามขั้นตอนได้ตามนี้ 

1. คลิกเลือกไอคอน“calculator” ตามรูปด้านล่าง 

2. คุณสามารถเลือกการคำนวนได้ทั้ง 3 อย่างคือ “PnL”, “Target Price” หรือ “Liquidation Price”ในที่นี้เราแสดงวิธีการคำนวน PnL ก่อนการเริ่มเปิด Position

3. จากนั้นใส่ราคาเริ่มต้น (Entry Price) ราคาออก (exit price) และปริมาณ Order ของคุณ คุณสามารถเลือกระดับเลเวอเรจได้โดยเลื่อนเคอร์เซอร์ไปตามแถบเลื่อนได้

4. หลังจากนั้นกด “Calculate” ระบบจะทำการคำนวนผลทั้ง initial margin, PnL และ ROE

โดยสูตรการคำนวนมีดังนี้ 

USDT-Margined Contracts

  • Initial Margin = Quantity * Entry Price * IMR

IMR = 1 / leverage

  • PnL:

Long = (Exit Price - Entry Price) * Quantity

Short = (Entry Price - Exit Price) * Quantity

  • ROE% = PnL / Initial Margin = side * (1 - entry price / exit price) / IMR

  • Target price:

Long target price = entry price * ( ROE% / leverage + 1 )

Short target price = entry price * ( 1 - ROE% / leverage )

Coin-Margined Contracts

  • Initial margin = Qty * contract_multiplier * IMR / entry price

IMR = 1 / leverage

  • PNL = side * Qty * contract_multiplier * (1 / entry price - 1 / exit price)

side:long is 1,short is -1

  • ROE% = PNL / initial margin = side * (1 - entry price / exit price) / IMR

  • Target Price = side * entry price / (side - ROE * IMR)

 

 

Day 7

เร่ิมต้นการเทรด Futures สำหรับนักเทรดมือใหม่อาจจะเป็นเรื่องยากเนื่องจากไม่รู้ว่าจะเริ่มจากตรงไหนดี ในบทความนี้จะแสดงวิธีการเทรดสำหรับมือใหม่เป็นขั้นตอนง่ายๆว่าจะต้องทำอย่างไรบ้าง ในที่นี้เราจะพูดเฉพาะการเทรดในตลาด Perpetual Futures ที่เป็น USDS-M Futures เท่านั้นจะไม่แสดงวิธีการซื้อเทรดในตลาด Coin-M Futures และจะไม่มีการพูดถึงเรื่องการใช้ Indicator ในการวิเคราะห์ในการเปิด Long หรือ Short แต่จะแสดงวิธีการเปิด Position เท่านั้น เพื่อเป็นการเริ่มต้นการใช้งานสำหรับมือใหม่เราจะแสดงวิธีการเปิด Position ผ่าน Mobile Application ดังนี้ 

Step 1: โอนคริปโตจาก Spot Wallet ไป Futures Wallet 

  • ไปที่ “กระเป๋าเงิน” Wallet และทำการโอนจาก Spot Wallet ไป Futures Wallet โดยในที่นี้เราจะเลือก USDS-M Futures โดยต้องสินทรัพย์ขั้นต่ำในการเทรด Futures 10$  

***คุณสามารถโอน BNB ไป Futures Wallet เพื่อใช้เป็นส่วนลดในการเทรด Futures โดยถ้าใช้ BNB จะได้ส่วนลด 25%***

 

Step 2: วิเคราห์กราฟเพื่อตัดสินใจในการเปิด Position

  • เข้าหน้า Futures โดยเข้าที่ Tab ด้านล่าง (1) และเลือกคู่เทรดจากมุมซ้ายบนว่าคุณต้องการเทรดคู่ไหน โดยในตัวอย่างนี้เราใช้เป็นคู่เทรด BTCUSDT คือคู่ BTC กับ USDT 

  • จากนั้นคลิกเลือกดูกราฟ (2) เพื่อวิเคราะห์เทรนด์ของตลาดและเพื่อการตัดสินใจในการเปิด Buy (Long) Sell (Short) ในตัวอย่างนี้

Step 3 : วิเคราะห์กราฟ เลือก Margin ปรับ Leverage และเลือก Order Type 

  • ในตัวอย่างนี้เราจะแสดงตัวอย่างการ Buy-Long 

  • เลือกการประเภท Margin ในการเปิด Position ระหว่าง Isolated Margin หรือ Cross Margin 

  • ปรับ Leverage ซึ่งสามารถปรับได้จาก 1X-125X ขึ้นกับเหรียญนั้นๆ

  • เลือกประเภท Order และเลือกว่าจะเปิด Position เท่าไหร่โดยในตัวอย่างนี้เราจะเปิด Position 50% ของทุนที่เรามี เพราะฉะนั้นเราสามารถเช็คได้ว่า ต้นทุนที่เราใช้เท่าไหร่และจาก leverage ที่เราตั้งไว้สามารถซื้อได้สูงสุดเท่าไหร่ 

  • TP/SL เราสามารถตั้ง Take Profit และ Stop Loss (ดูรายละเอียดบทเรียนวันที่ 5) 

  • เมื่อตั้งทุกอย่างเรียบร้อยแล้วก็ทำการ เปิด Long 

  • เราสามารถคำนวน PNL, ROE และ Liquidity Price ของเราจากเครื่องคำนวน 

Step 4 : ก่อนปิด Position 

  • เมื่อเปิด Position แล้วนั้นเราสามารถปรับ TP/SL ได้

  • Leverage นั้นสามารถปรับเพิ่มได้อย่างเดียวไม่สามารถปรับลดได้ 

  • เราสามารถปิด Position ได้บางส่วน 

  • สิ่งที่เราต้องคำนวณค่าธรรมเนียมก่อนปิด Position เสมอ โดยต้องดู Funding Fee ด้วยโดยถ้า Funding Fee เป็นบวกฝั่ง Long ต้องให้ค่าธรรมเนียมฝั่ง Short และถ้า Funding Fee เป็นลบฝั่ง Short ต้องให้ค่าธรรมเนียมฝั่ง Long 

  • เราต้องดู  liquidation Price ของเราเพื่อบริหารไม่ให้เกิดการบังคับปิด Position รวมทั้ง PNL เสมอ 

Step 5: ปิด Position 

  • เมื่อพอใจที่จะ Take Profit หรือในทางกลับกัน Stop Loss เพื่อไม่ให้ขาดทุนเราสามารถปิด Position ได้ทันที 100% หรือสามารถเลือกที่จะปิดบางส่วนได้

นี่เป็นเพียงตัวอย่างการเปิดและปิด Position เบื้องตันเท่านั้นในความเป็นจริงแล้วการเปิด Position นั้นจะต้องประกอบไปด้วยการวิเคราะห์และการกำหนดกลยุทธ์หลายๆอย่างซึ่งอาศัยการฝึกฝนและประสบการณ์ การเทรดตลาด Futures นั้นมีความเสี่ยงสูงเนื่องจากมี Leverage และการบังคัญปิดบัญชีเข้ามาเกี่ยวข้อง เพราะฉะนั้นนักเทรดจึงควรทำความเข้าใจตลาด Futures เรียนรู้เครื่องมือการเทรดและตระหนักถึงความสูญเสียที่อาจเกิดขึ้นได้ก่อนที่จะทำการเทรดจริง

 

แบบทดสอบ

แหล่งที่มา/ต้นฉบับ :

แสดงความคิดเห็น

กดแชร์ตรงนี้